Tag: Deloitte

ห้าประโยชน์สำคัญของระบบ ERP ภาคการผลิต ที่ออกแบบเพื่อการใช้งานตามวัตถุประสงค์

หากธุรกิจคุณพิเศษไม่เหมือนใคร คุณควรเลือกซอฟต์แวร์ ERP ที่เหมาะสมกับธุรกิจคุณ ในขณะที่โลกการผลิตกำลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็วเพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่ หลายองค์กรกำลังพยายามกำหนดแผนใหม่เพื่อทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ แต่เวลาไม่ได้เป็นใจให้กับอุตสาหกรรมการผลิต  Deloitte ได้ระบุไว้ในการคาดการณ์ปี 2566 ว่า “อุตสาหกรรมการผลิตกำลังฟื้นตัวกลับมาอย่างรวดเร็วโดยไม่ย่อท้อต่อปัญหาใหญ่ด้านแรงงานและระบบห่วงโซ่อุปทาน  ดังนั้น ผู้ผลิตควรจัดการกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งส่งเสริมแนวคิดเรื่องความยั่งยืนเพื่อรักษาโมเมนตัมนี้ไว้” ผู้ที่เปิดรับแนวคิดใหม่ ๆ ปัจจุบันต่างก็มีความคล่องตัว ยืดหยุ่น และมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานมากขึ้น และอาจกำลังเข้ามามีส่วนแบ่งในตลาดของคุณแล้ว  ในทางกลับกัน บริษัทผู้ผลิตเช่นคุณจะสามารถลดผลกระทบจากความเสี่ยงนี้ และขยายธุรกิจให้เกิดผลกำไรรวดเร็วได้อย่างไร  ความร่วมมือทางเทคโนโลยีคือคำตอบสำหรับหลายคนในเรื่องนี้ ความร่วมมือกันเพื่อจะบรรลุการเติบโตของธุรกิจที่ยั่งยืนกำลังทวีความสำคัญเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงข้อมูลจากต้นน้ำหรือปลายน้ำของคู่ค้าภายในห่วงโซ่อุปทาน หรือการพิจารณาถึงผู้ให้บริการเทคโนโลยีที่สามารถนำเสนอข้อมูลเชิงลึกจำนวนมหาศาลเกี่ยวกับความสามารถของระบบคลาวด์ที่ทันสมัยและนวัตกรรมระดับแนวหน้า ภาคการผลิตกำลังเปลี่ยนไปใช้แอปพลิเคชันที่ออกแบบมาอย่างเฉพาะเจาะจงสำหรับแต่ละอุตสาหกรรม โดยปัจจุบันเกือบทุกแอปพลิเคชันจะอยู่ในรูปแบบคลาวด์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน มีความยืดหยุ่น รวมถึงทำให้สามารถมองเห็นงานทั้งระบบ…

ภัยคุกคามด้านไซเบอร์ กับการแนวทางการกำหนดกลยุทธ์สำหรับการดำเนินธุรกิจ

ThaiCERT (Thailand Computer Emergency Response Team) ได้รวมรวมสถิติภัยคุกคามด้านไซเบอร์ของไทยในปี 2564 พบว่า “การเกิดช่องโหว่” เป็นภัยคุกคามอันดับ 1 คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 1 ใน 3 ของเหตุคุกคามกว่า 2,000 เรื่อง และในสามเดือนแรกของปี 2565 ภัยคุกคามด้านไซเบอร์ที่พบบ่อยที่สุดเกิดจากการโจมตีด้วยโปรแกรมไม่พึงประสงค์ ซึ่งคิดเป็น 53% ของจำนวนเรื่องที่ได้รับรายงาน เมื่อพิจารณาพฤติกรรมของผู้บริโภค จากการสำรวจของ ACI Worldwide ระบุว่าประเทศไทยทำธุรกรรมการชำระเงินแบบเรียลไทม์…

อุตสาหกรรมนาฬิกาสวิส: คาดช่องทางอีคอมเมิร์ซดีดตัวสองเท่าภายในปี 2573 และตลาดมือสองเติบโตไปอยู่ที่ 35 พันล้านฟรังก์สวิสทั่วโลก

จากสัดส่วนผู้บริโภคถึงสองในห้าที่มีแผนซื้อนาฬิกาผ่านช่องทางออนไลน์ ทำให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซของอุตสาหกรรมนาฬิกามีแนวโน้มเติบโตขึ้นเป็นสองเท่าภายในสิ้นทศวรรษนี้ ในขณะเดียวกัน นาฬิกามือสอง ยังเป็นที่ต้องการสูง โดยผู้บริโภคคิดเป็น 1 ใน 3 (ร้อยละ 31) มีแผนที่จะซื้อนาฬิกามือสองในอีก 12 เดือนข้างหน้า และสัดส่วนที่ว่าจะยิ่งสูงขึ้นในกลุ่มผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี โดยเกือบครึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามในกลุ่มนี้ (ร้อยละ 48) มีแผนที่จะซื้อนาฬิกามือสองทำให้ตลาดนาฬิกามือสองมีแนวโน้มเติบโตจาก 20 พันล้านฟรังก์สวิสเป็น 35 พันล้านฟรังก์สวิสภายในปี 2573 คิดเป็น มากกว่าครึ่งหนึ่งของตลาดหลัก ผู้บริโภคยังมองว่านาฬิกาหรูเป็นสินค้าเพื่อการลงทุนมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในจีน และฮ่องกง…