“กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยการมอบหมายนโยบายจาก น.ส. ศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีกระทรวง อว. ให้ หน่วย บพท. ร่วมกับ 7 หน่วยงาน คือ ศอ.บต. จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ประสานพลังความรู้ พลังภาคี แก้ปัญหาความยากจน เปิดมิติใหม่ ใช้ความรู้ สร้างงาน สร้างอาชีพ สู้เอาชนะความรุนแรง จังหวัดชายแดนใต้ ตามแนวทางสันติวิธี”

นายนันทพงศ์ สุวรรณรัตน์ รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) นางพาตีเมาะ สะดีมายู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ผศ.ดร.อัตชัย  เอื้ออนันตสันต์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผศ.ดร.ศิริชัย  นามบุรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผศ.ดร.ปรีชา สะแลแม อธิการบดีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และ ดร.กิตติ  สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้ประกอบพิธีลงนามร่วมกันในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง “การขับเคลื่อนข้อมูลเพื่อการตัดสินใจพัฒนาพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อขจัดความยากจน และยกระดับฐานะทางสังคมในจังหวัดชายแดนใต้” ณ โรงแรมซีเอสปัตตานี เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2567 โดยมีแพทย์หญิงเพชรดาว  โต๊ะมีนา ที่ปรึกษา รมว.กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงาน สกสว. สอวช. ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนาม

สาระสำคัญในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ซึ่งมีการลงนามกันดังกล่าว มีเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ 4 ประการ ดังนี้

  • เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูล การพัฒนาระบบและโครงสร้างการแก้ไขปัญหาความยากจนด้วยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และนำมาพัฒนาเป็นระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ
  • เพื่อขับเคลื่อนข้อมูลเพื่อการตัดสินใจที่เบ็ดเสร็จ แม่นยำในการพัฒนาพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์ และขจัดความยากจน และยกระดับฐานะทางสังคม ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
  • เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการวิจัยและนวัตกรรมขจัดความยากจน และยกระดับฐานะทางสังคมในพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์
  • เพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ สถาบันวิชาการ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาคนจนเป้าหมาย ให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมถึงส่งเสริมการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะ และหาแนวทางในการปรับปรุงเงื่อนไขที่จำเป็นต่อการดำรงชีพให้เอื้อต่อการสร้างหรือเพิ่มรายได้ เพื่อให้คนจนเป้าหมายสามารถดูแลตัวเองและครอบครัวได้อย่างมั่นคง

โอกาสนี้ ผศ.ดร.อรุณีวรรณ  บัวเนี่ยว รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพันธกิจสังคม มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เปิดเผยว่า นอกเหนือจากการลงนามร่วมกันในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง การขับเคลื่อนข้อมูลเพื่อการตัดสินใจพัฒนาพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อขจัดความยากจน และยกระดับฐานะทางสังคมในจังหวัดชายแดนใต้ ของ 8 หน่วยงานแล้ว ยังมีการสัมมนาพหุภาคีในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง และ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เพื่อระดมความคิดเห็น และแสวงหาแนวทางในการเสริมพลังการแก้ปัญหาความยากจน ด้วยงานวิจัย นวัตกรรม ตลอดจนเทคโนโลยีพร้อมใช้

“ในงานนี้มีการนำโมเดลแก้จน และนวัตกรรม รวมทั้งเทคโนโลยีพร้อมใช้ ที่ผ่านการพิสูจน์ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลมาแล้ว รวม 8 ด้าน จากคณะนักวิจัย 6 มหาวิทยาลัยคือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยฟาฏอนี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มาจัดแสดง ประกอบด้วย     1).โมเดลแก้จนด้านสังคมและคุณภาพชีวิต  2).นวัตกรรมพลังงานและเทคโนโลยีชีวมวล 3).เทคโนโลยี การเกษตรและการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรประเภทผัก ผลไม้  4).นวัตกรรมการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ  5).เทคโนโลยีปศุสัตว์และอาหารสัตว์ 6).เทคโนโลยีดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์ 7).เทคโนโลยีอาหาร สมุนไพร และการแปรรูป และ 8).เทคโนโลยีการแปรรูปอาหารทะเล”

ดร.กิตติ ผู้อำนวยการหน่วย บพท.กล่าวว่า “กิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นในวันนี้ได้รับการความสนใจและตอบรับจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เครือข่ายมหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่ กลุ่มธุรกิจชุมชน และกลุ่มครัวเรือนยากจนกว่า 500 คน เข้าร่วมงาน ถือเป็นการเปิดมิติใหม่ของการแก้ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้ที่เรื้อรังยาวนานมากว่า 20 ปี ด้วยแนวทางสันติวิธี จากการสร้างรายได้-เสริมความมั่นคงด้านอาชีพ ด้วย 104 นวัตกรรมและเทคโนโลยีพร้อมใช้บนฐานงานวิจัย เพื่อยกระดับศักยภาพและขับเคลื่อนระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยการสนับสนุนจากระบบกองทุน อววน. ภายใต้ความร่วมมือกันของภาคีทุกภาคส่วนในพื้นที่”

https://www.kaosanonline.com/?p=63668

By admin

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *