“ข้าว” เป็นอาหารหลักของคนไทย และเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่สร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศไทยจากการส่งออกมายาวนาน แต่ในปี 2565 ไทยเสียแชมป์ส่งออกข้าวให้กับเวียดนาม ผลผลิตของข้าวไทยและการแข่งขันข้าวในตลาดโลกของไทยร่วงลงมาอยู่อันดับ 3 โดนเวียดนามแซงขึ้นเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 2 ของโลก ซึ่งเดิมเวียดนามส่งออกข้าวประมาณ 7 ล้านตันต่อปี แต่เพียงแค่ 8 เดือน เวียดนามส่งออกถึง 5.81 ล้านตัน แซงหน้าไทยที่ส่งออกได้เพียง 5.27ล้านตัน จากข้อมูลของสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย 

อีกทั้ง คาดการณ์ล่าสุดของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรภายใต้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุว่า การผลิตข้าวไทยจะลดลง 871,000 ตัน ข้าวเปลือก ลดลง 3.27% เหลือ 25.8 ล้านตัน ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวปี 2566-2567 โดยมีสาเหตุหลักมาจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป และนอกจากปัญหาสภาพดิน ฟ้า อากาศ ที่ยากจะควบคุมแล้ว ผลผลิตข้าวของไทยยังมีความเสี่ยงลดลงเนื่องจาก แมลงศัตรูพืช และ “โรคในนาข้าว” ที่ส่งผลกระทบสร้างความเสียหายต่อผลผลิตและคุณภาพ ทำให้ได้ผลผลิตในปริมาณที่ต่ำลง โรคที่ระบาดอยู่ในขณะนี้ อาทิ โรคกาบใบแห้งหรือราหลุม โรคเมล็ดด่าง และโรคใบจุดสีน้ำตาล ซึ่งทั้งหมดเป็นโรคที่เกิดจาก “เชื้อรา” เกษตรกรจึงจำเป็นต้องรู้วิธีการป้องกันและจัดการเพื่อควบคุมโรคและวงจรของโรคในพื้นที่ปลูกข้าวให้ได้มากที่สุด 

ดังนั้น บริษัท ซินเจนทา ประเทศไทย ผู้นำในด้านโซลูชั่นส์ด้านการเกษตรยุคใหม่ จึงมุ่งมั่นในการพัฒนานวัตกรรมใหม่เพื่อช่วยป้องกันการเกิดปัญหาโรคในนาข้าว ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ ชื่อว่า “รีเฟลกซ์ อีโว่” พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีความรู้การป้องกันโรคในนาข้าวในกับพี่น้องเกษตรกรชาวนา เมื่อวันที่ 6 ตุลาคมที่ผ่านมา ณ ศูนย์การเรียนรู้ซินเจนทา อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี ซึ่งมีกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและเกษตรกรมืออาชีพ จากจังหวัดนครสวรรค์ กำแพงเพชร ชัยนาท สุพรรณบุรี พิษณุโลก และ นนทบุรี จำนวนมากกว่า 400 คน เข้าร่วมงานในครั้งนี้ 

 

นางสาวสุนิสา จัตุพร ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ซินเจนทา ครอป โปรเทคชั่น จํากัด

นางสาวสุนิสา จัตุพร ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ซินเจนทา ครอป โปรเทคชั่น จํากัด กล่าวว่า “โรคในนาข้าวถือเป็นอุปสรรคอย่างมากของเกษตรกรชาวนา ไม่ว่าจะเป็น โรคกาบใบแห้งหรือราหลุม โรคเมล็ดด่าง โรคใบจุดสีน้ำตาล ก่อให้เกิดปัญหาตั้งแต่การปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะช่วงข้าวกัดหางปลาทู ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่สำคัญในการสร้างรวงและการพัฒนาเกสร ที่เป็นจุดเริ่มต้นของเมล็ดข้าวที่มีคุณภาพ ข้าวเต็มเมล็ด ดังนั้นความท้าทายของซินเจนทาคือการคิดค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ๆที่สามารถช่วยตอบโจทย์และแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรชาวนาให้สามารถปลูกข้าวได้โดยปราศจากโรคพืช เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง และให้ผลผลิตที่มีคุณภาพเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งนวัตกรรมนี้มีชื่อว่า “รีเฟลกซ์ อีโว่”  

“รีเฟลกซ์ อีโว่” ได้รับอนุมติขึ้นทะเบียนในประเทศไทยเมื่อปี 2021 สำหรับป้องกันกำจัดโรคกาบใบแห้ง โรคเมล็ดด่างในนาข้าว ซึ่งเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงมีสารออกฤทธิ์เรียกว่า “ไอโซไพราแซม” ทำหน้าที่เกาะติดกับใบพืชเคลือบอยู่ที่ชั้นผิวใบหลังจากทำการฉีดพ่นสาร สามารถช่วยปกป้องต้นข้าว แม้ต้องเผชิญอยู่ในสภาพอากาศที่มีฝนหรือแสงแดดก็ตาม และปกป้องพืชได้ยาวนาน ซึ่งหากข้าวถูกโรคเชื้อราหรือโรคพืชเข้าทำลาย “ไอโซไพราแซม” จะทำหน้าที่ล็อคเชื้อราและยับยั้งการทำงานของเชื้อราและกำจัดโรคพืชให้หมดไป ทำให้ต้นข้าวปลอดจากโรคเชื้อรา มีเกสรผสมสมบูรณ์ ออกรวงอย่างสม่ำเสมอ และเมล็ดแกร่ง ได้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น  

นายณัฐวุฒิ ผึ้งเถื่อน และ นางสาวพรรษา น้อยเปลี่ยน เกษตรกรผู้ปลูกข้าวบนเนื้อที่กว่า 300 ไร่ อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท กล่าวว่า “ผมกับภรรยาทำนามา 16 ปี ทดลองใช้ ‘รีเฟลกซ์ อีโว่ ครั้งแรกเมื่อช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยแบ่งฉีดเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ พบว่าข้าวที่ปลูกพันธุ์เดียวกันมีใบธงสีเขียวและมีขนาดใหญ่กว่า ไม่มีโรค ไม่เป็นรากระถิน ส่วนแปลงข้างกันที่ไม่ได้ฉีดประมาณ 20 ไร่ จะมีรากระถินเยอะ เมื่อเทียบกันแล้วแปลง 10 ไร่ ที่ใช้ ‘รีเฟลกซ์ อีโว่’ ได้ผลผลิตประมาณ 10-11 เกวียน ส่วนแปลง 20 ไร่ ได้ผลผลิตประมาณ 18 เกวียน หรือประมาณ 9 เกวียนต่อ 10 ไร่ ซึ่งเราทำนา 3 ครั้ง ต่อปี เมื่อก่อนราคาข้าวเปลือกประมาณ 7-8 พันบาท ต่อเกวียน ปัจจุบันราคาขึ้นมาประมาณหมื่นกว่าบาทต่อเกวียน เราก็มีรายได้เพิ่มขึ้นบวกกับการมีตัวช่วยป้องกันโรคในนาข้าว ยิ่งทำให้เรามีผลผลิตที่ดี ข้าวมีเมล็ดที่ใส สวย มีคุณภาพ สามารถนำไปขายเป็นแม่พันธุ์ดีได้อีกด้วย 

“งานนี้เราได้ถ่ายทอดเทคโนโลยี ให้ความรู้ในการป้องกันโรคในนาข้าว ซึ่งพี่น้องเกษตรกรสามารถเห็นถึงความแตกต่างระหว่างการใช้สารตามวิถีของเกษตรกร และวิธีการใช้นวัตกรรมของซินเจนทาในแต่ละช่วงการเจริญเติบโตของต้นข้าว เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรชาวนาไทยสามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในการปลูกข้าวที่ปลอดโรค ให้ผลผลิตที่สมบูรณ์ แข็งแรง เป็นที่น่าพอใจ สามารถสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น โดยซินเจนทามีความมุ่งหวังว่า นวัตกรรมดังกล่าวจะช่วยพยุงระดับผลผลิตของเกษตรกรซึ่งจะส่งผลช่วยให้ผลผลิตข้าวในระดับประเทศมั่นคงขึ้น ดันอันดับการส่งออกข้าวไทยให้ก้าวขึ้นมาอีกระดับ” นางสาวสุนิสา กล่าวเสริม

https://www.kaosanonline.com/?p=44129

By admin

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *