โดย: คุณซันเจย์ โรฮัตจี รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปของ เน็ตแอพ และเอเชียแปซิฟิก

รายงานจากบริษัทที่ปรึกษาและวิจัยข้อมูลการตลาด (International Data Corporation: IDC) ระบุว่า การสร้าง การประมวลผล และการจัดการข้อมูลจะเปลี่ยนแปลงโลกที่เราเคยรู้จักไปตลอดกาล เนื่องจากคาดการณ์ว่าปริมาณข้อมูลที่สร้างขึ้นในแต่ละปีทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 175 เซตตาไบต์ (ZB) ภายในปี 2568

การไหลของข้อมูลสู่ระบบคลาวด์ทำให้เกิดนวัตกรรมและการเติบโตของธุรกิจที่ไม่มีใครเทียบได้ จึงเป็นเหตุผลที่ผู้สังเกตการณ์หลายคนเรียกข้อมูลว่า “น้ำมันยุคใหม่” และเช่นเดียวกับน้ำมัน ข้อมูลคือหัวใจหลักของอุตสาหกรรม ที่กำลังถูกจับตามองในฐานะแหล่งที่มาของการปล่อยคาร์บอน ซึ่งส่งผลกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีนัยสำคัญทั่วโลก

ในฐานะที่ข้อมูลและอุตสาหกรรมข้อมูลมีส่วนร่วมในการปล่อยคาร์บอนที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก องค์กรจึงจำเป็นต้องเข้าใจผลกระทบและดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อบรรเทาผลที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงการลงทุนในเทคโนโลยีที่สร้างและจัดเก็บพลังงานหมุนเวียนและการดักจับคาร์บอน และบริษัทควรเรียนรู้วิธีจัดการข้อมูลองค์กรเพื่อขับเคลื่อนอนาคตที่ยั่งยืนไปพร้อม ๆ กัน

 ข้อมูลเป็นหนึ่งในวิธีแก้

ดัชนีความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศโลก พ.ศ. 2564 พบว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 10 ประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก ซึ่งทำให้การดำเนินการด้านสภาพอากาศมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศ

ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่เสนอแผนงานระดับชาติด้านการเป็นกลางด้านคาร์บอนเพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่อาจตามมา โดยไทยตั้งเป้าที่จะจำกัดการปล่อยคาร์บอนสูงสุดให้ได้ภายในปี 2573 และเป็นกลางทางคาร์บอนให้ได้ระหว่างปี 2608 ถึงปี 2613 ซึ่งจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากทุกภาคส่วน รวมถึงศูนย์ข้อมูลและอุตสาหกรรมคลาวด์ด้วย

อย่างไรก็ตาม ในโลกปัจจุบันองค์กรนั้นไม่สามารถหยุดผลิตหรือจัดเก็บข้อมูลได้ แต่องค์กรจำเป็นต้องเรียนรู้ ปรับปรุง และใช้ประโยชน์จากข้อมูลให้เกิดประสิทธิภาพ ซึ่งขั้นตอนแรกคือการทำความเข้าใจข้อมูลที่มีอยู่ รวมถึงรู้จักที่เก็บข้อมูลและวิธีการใช้

การวิจัยของ IDC พบว่า องค์กรส่วนใหญ่ใช้งานข้อมูลเพียงแค่ 32% ของข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่เท่านั้น ส่วนที่เหลืออีก 68% กลับไม่ได้ถูกใช้งานแต่อย่างใด ดังนั้นองค์กรสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ด้วยการเรียนรู้ปริมาณการใช้ข้อมูล และกำจัดข้อมูลส่วนที่ไม่จำเป็นออกไป

ย้ายสู่ระบบคลาวด์ และลงทุนในเทคโนโลยี

 องค์กรสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้อีกโดยการย้ายข้อมูลสู่ระบบคลาวด์ ซึ่งการคาดการณ์จาก IDC แสดงให้เห็นว่าการนำคลาวด์คอมพิวติ้งมาใช้อย่างต่อเนื่องสามารถป้องกันการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่า 1 พันล้านเมตริกตันตั้งแต่ปี 2564 ถึง 2567 โดยประโยชน์หลักของระบบคลาวด์ คือ ทรัพยากรการประมวลผลแบบรวมที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เนื่องจากคลาวด์และเทคโนโลยีถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย บริษัทซอฟต์แวร์ข้อมูลและคลาวด์จึงมีบทบาทสำคัญในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรมข้อมูล โดยบริษัทต่าง ๆ ได้ให้คำมั่นสัญญาในการร่วมสร้างอนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้นผ่านการลดฟุตพริ้นท์ทางสิ่งแวดล้อมและช่วยให้ลูกค้าสร้างโซลูชันที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต

สร้างระบบนิเวศน์ข้อมูลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากปริมาณข้อมูล องค์กรสามารถเก็บรวมรวมข้อมูลทั้งหมดไว้ที่ผู้ให้บริการคลาวด์ และศูนย์จัดเก็บข้อมูลที่ลงทุนทางเทคโนโลยี และสามารถบริหารจัดการทรัพยากร รวมถึงยกระดับการจัดการด้านการใช้พลังงานในองค์กรในหลายทิศทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ผู้ให้บริการศูนย์จัดเก็บข้อมูล สามารถทำข้อตกลงกับผู้ผลิตพลังงาน ให้สร้างฟาร์มโซลาร์ หรือฟาร์มลม เพื่อแลกกับการซื้อพลังงานจากบริษัทดังกล่าว เป็นต้น ข้อตกลงลักษณะนี้ นอกจากจะเป็นการการันตีแหล่งที่มาของพลังงานแล้ว ยังช่วยให้ผู้ให้บริการศูนย์จัดเก็บข้อมูล บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนด้านพลังงานอีกด้วย

นอกจากนี้ องค์กรควรเลือกใช้บริการศูนย์จัดเก็บข้อมูลที่สามารรถออกแบบโครงสร้างและวางมาตรการควบคุมดูแลศูนย์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น มาตรการควบคุมอุณหภูมิและการใช้พลังงานเพื่อควบคุมอุณหภูมิของอุปกรณ์ รวมถึงการออกแบบระบบไฟและระบบควบคุมอัจฉริยะ ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการปล่อยก๊าซคาร์บอนในระยะยาว

ขณะเดียวกัน หากรัฐบาลตั้งเกณฑ์ภาษี โดยนำประสิทธิภาพในการบริการจัดการด้านคาร์บอนมาใช้เป็นเงื่อนไข ก็ถือเป็นการเพิ่มแรงผลักดันให้องค์กรต้องยอมเปลี่ยนระบบบริหารจัดการห่วงโซ่กระบวนการทำงาน และเทคโนโลยีให้มีคุณภาพมากขึ้น เช่น องค์กรจะต้องพิจารณาและออกแบบโมเดลการผลิตและปล่อยคาร์บอนแบบใหม่ ให้สอดคล้องกับสิ่งที่ผู้ผลิตสินค้าและให้บริการด้านเทคโนโลยีนำเสนอ และองค์กรจะต้องได้รับการประเมินทุก ๆ สองปี เป็นต้น

ปูทางสู่อานาคตที่ยั่งยืน

เราต่างก็ตระหนักดีว่า การจัดการด้านพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อปูพื้นฐานสู่อนาคตที่ยั่งยืน คือหน้าที่ความรับผิดชอบที่เรามีต่อคนรุ่นหลัง แต่ดูเหมือนว่าหน้าต่างแห่งโอกาสนี้ใกล้จะปิดลงเต็มที

คำถามก็คือ เราควรทำอย่างไรต่อไป? ในเมื่อองค์กรต่าง ๆ ยังคงผลิต ประมวลผล และจัดเก็บข้อมูลจำนวนมหาศาลอย่างต่อเนื่อง การวางกลยุทธ์บริการจัดการข้อมูล เพื่อสร้างกระบวนการจัดเก็บที่ยั่งยืน จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การแผนวางกลยุทธ์ที่ดีจะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนลงได้ และจะมีความหมายอย่างมากต่อสิ่งแวดล้อมของเรา

By admin

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *