สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอแนะผู้ประกอบการสิ่งทอหันปรับคุณภาพวัสดุ เน้นอิงกระแสรักษ์โลก จะอยู่ได้นานและยั่งยืนกว่าแข่งกันด้วยราคา พร้อมผนึกความร่วมมือ กับ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ และสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ ร่วมกันแนะผู้ประกอบการสิ่งทอ ปรับรูปแบบการผลิตและวัสดุที่อิงเทรนด์รักษ์สิ่งแวดล้อม พร้อมสร้างเรื่องราวที่น่าจดจำให้ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เพื่อสร้างมูลค่าให้ตัวผลิตภัณฑ์ และแข่งขันได้ในตลาดโลก เตรียมนำเสนอภาครัฐใช้ Soft Power ทำตลาดสิ่งทอพร้อมผลักดันให้ยื่นมือช่วยเหลือผู้ประกอบการ
ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เปิดเผยว่า สำหรับแนวทางการปรับตัวของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยที่ควรนำมาใช้เพื่อให้แข่งขันในตลาดโลกได้นั้น ควรปรับรูปแบบการผลิตและวัสดุที่ใช้ในการผลิต โดยอิงเทรนด์รักษ์สิ่งแวดล้อมที่กำลังเป็นเทรนด์โลก เพื่อให้สร้างเรื่องราวของผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยสร้างมูลค่าให้กับตัวผลิตภัณฑ์ แทนการแข่งขันด้านราคา เพราะปัจจุบันกระแสรักษ์โลกกำลังเป็นเทรนด์นิยมและผู้บริโภคให้ความใส่ใจไปถึงที่มาของวัตถุดิบและกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
“ที่ต่างประเทศ ผู้ผลิตเครื่องจักร สารเคมี วัสดุสิ่งทอ ได้ transform ไปสู่ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะความตระหนักในเรื่องรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้ก่อให้เกิดโอกาสทางธุรกิจที่เกิดขึ้นมาจากเทรนด์รักษ์โลกและถือเป็น movement ครั้งใหญ่ของโลก คือการมีฉลากที่ตัวสินค้า บ่งบอกชัดเจนถึงที่มาของวัสดุต่าง ๆ ที่มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นเหมือนการเล่าเรื่องที่มาของเสื้อผ้า ว่าส่วนผสมหรือกระบวนการที่ผลิตออกมามีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างไร จากความตื่นตัวในเรื่องดังกล่าว ทำให้ตอนนี้เกมของวงการสิ่งทอเปลี่ยนไป ไม่ได้แข่งกันที่ราคาอีกต่อไปแล้ว โดยเฉพาะแบรนด์ใหญ่ ๆ ที่อยากให้แบรนด์เขามีความชัดเจนเรื่องสิ่งแวดล้อม จะหันมาเน้นในรายละเอียดของวัสดุที่นำมาผลิต ตลอดจนกระบวนการผลิต ในขณะที่ผู้ประกอบการไทยยังอยู่ในกับดักของเรื่องราคาหรือเรื่อง OEM หากปรับเปลี่ยนมุมมองและแนวคิดใหม่ จะทำให้มีโอกาสในตลาดโลกได้มากขึ้น”
สำหรับภาพรวมของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยในปีนี้ พบว่า หลังจากอุตสาหกรรมสิ่งทอตกลงไปประมาณ 20% ช่วงสถานการณ์โควิด และสถานการณ์การแพร่ระบาดคลี่คลายลง สถาบันสิ่งทอแนะผู้ประกอบการสิ่งทอหันปรับคุณภาพวัสดุ เน้นอิงกระแสรักษ์โลก จะอยู่ได้คงทนกว่าแข่งกันด้วยราคา
ด้านนายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ FTPI เปิดเผยว่า สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติจะเข้ามามีส่วนช่วยดูองค์รวม วิชาการใหม่ๆ เทคโนโลยี ในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้ผู้ประกอบการ รวมถึงเพิ่มในส่วนขององค์กร ซึ่งสิ่งที่ทางสถาบันทำมาอย่างต่อเนื่องคือการให้เกณฑ์วัดผลให้ผลลัพธ์ดีขึ้น ซึ่งการร่วมมือครั้งนี้นั้นมีเรื่องสิ่งแวดล้อมเข้ามาเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ทางสถาบันฯ ได้เพิ่มองค์ความรู้ชุดนี้ ให้กับทีมวิทยากรเพื่อนำไปเพิ่มโมเดลให้กับทางผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัย การสร้างมาตรฐานต่างๆ เพื่อให้สามารถเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันที่จำเป็นต่อการค้าระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นมา
ทั้งนี้ทางสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติจึงมีบทบาทและเป็นกลไกหลักในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มความสำคัญผลิตภาพให้ผลงานขององค์กรต่างๆ ดีขึ้น ซึ่งต้องดูตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำและมีกลไกการเชื่อมโยงกับการค้าระหว่างประเทศ ในขณะเดียวกันก็ดูแลทุกการเติบโตของแต่ละองค์กรในการเพิ่มหรือเติมประสิทธิภาพส่วนต่างๆ ผ่านการร่วมมือกับสภาบันฯ สิ่งทอ
นอกจากนี้ปัญหาที่พบเจอได้บ่อยในองค์กรคือบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง Sustainability ยังมีไม่เพียงพอ ทำให้ทางสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติต้องสร้างหลักสูตรขึ้นมา โดยมีผู้รู้ที่เชียวชาญด้านต่างๆ กับให้ผู้ประกอบการเข้าใจถึงความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงซึ่งทั้งสองส่วนจำเป็นต้องทำควบคู่กันไป และเมื่อทำหลักสูตรต่างๆ เสร็จเรียบร้อยแล้ว พาผู้ประกอบการไปดูงานต่างประเทศได้ด้วยแล้ว และทุกคนเริ่มมีแรงบันดาลใจในการทำสิ่งต่างๆ มากขึ้นก็จะสามารถเติบโตได้ เนื่องจากในปัจจุบันภาวะโลกร้อนเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นจุดที่ต้องเข้ามาช่วยกันดูแล ซึ่งการปรับทัศนคติเรื่องสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดความยั่งยืนนั้นเป็นภารกิจของสถาบันเพิ่มผลิตแห่งชาติ
นายจงรักษ์ โรจน์พลาเสถียร ผู้อำนวยการสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ กล่าวว่า โดยพื้นฐานทางสถาบันฯ จะทำหน้าที่ในการรับรองตัวมาตรฐานและรับบการจัดการที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมสิ่งทอหลากหลายตัว ยกตัวอย่างเช่น มาตรฐาน ISO9001 ระบบบริหารงานคุณภาพ, ISO14001 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม, ISO45001 ระบบการจัดการอาชีวะอนามัยและความปลอดภัย, ISO50001 ระบบการจัดการพลังงาน, และมาตรฐานแรงงานไทย 80001 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดูแลบุคคากรในสถานที่ทำงาน โดยมาตรฐานและระบบที่กล่าวข้างต้นจะเกี่ยวโยงกับทุกอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมสิ่งทอฯ ก็เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ต้องเข้ามาดูแล นอกจากนี้ทางสถาบันฯ ยังแนะนำให้ผู้ประกอบการทำตามาตรฐานอย่างถูกต้องเพื่อที่จะได้รับการรับรองจากสถาบัน เพื่อให้เกิดความถูกต้อง มีคุณภาพและความยั่งยืน
ทั้งนี้ความยั่งยืนของทางสถาบันฯ จะมีด้วยกัน 3 มิติ คือ เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งถ้าหากมองเฉพาะในเรื่องค้าขายเพื่อให้ได้เงินและเศรษฐกิจมานั้นอาจจะไม่เพียงพอต่อความยั่งยืนในอนาคต เพราะฉะนั้นต้องมองถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต้องเป็นศูนย์หรือน้อยที่สุด รวมถึงสามารถทำให้สังคมได้รับผลกระทบในทางที่ดีขึ้นและนำไปสู่แนวคิดเพื่อความยั่งยืนในอนาคตได้
ถ้าหากอุตสาหกรรมในประเทศสามารถเติบโตและเกิดความยั่งยืนได้ สามารถเกิดจุดประกายได้นั้นก็จะทำให้ปัญหาในสังคมและสิ่งแวดล้อมลดน้อยลง ปัญหาภาวะโลกร้อนก็จะดีขึ้นรวมถึงทำให้สินค้าในประเทศสามารถก้าวกระโดดและเติบโตในตลาดที่สูงขึ้นและองค์กรก็จะสามารถดำเนินการและเติบโตได้อย่างยั่งยืนตลอดไป
จากความสำคัญดังกล่าวสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอร่วมมือกับสถาบันเพิ่มผลิตแห่งชาติ โดยมีพันธกิจร่วมกันคือยกระดับขีดความสามารถด้วยการสร้างความสามารถให้บุคคลากรและองค์กรยกระดับผลิตภาพของธุรกิจ สร้างความเข้มแข็งระบบนวัตกรรม สร้างความเชื่อถือในผลิตภัณฑ์และบริการของไทยด้วยคุณภาพ มีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนของประเทศไทยผ่านการเพิ่มผลิตภาพ และสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ โดยเข้ามามีส่วนช่วยสนับสนุนให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีการเติบโต พัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการและองค์กร อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนด้วยการให้บริการด้านข้อมูลและองค์ความรู้ การฝึกอบรม การพัฒนามาตรฐานและการตรวจสอบรับรองมาตรฐานไอเอสโอและอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของอุตสาหกรรมรวมถึงเพิ่มขีดความสามารถด้านการรับรองให้ทัดเทียมประเทศอื่นๆ สู่ความเป็นเลิศด้านความสามารถในการดำเนินการอย่างยั่งยืน