ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) หน่วยงานของรัฐในกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้ดำเนินการจัดทำรายงานสถานการณ์คุณธรรมในสังคมไทยมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบของงานวิจัย องค์ความรู้ และสำรวจสถานการณ์ด้านคุณธรรม เพื่อมุ่งเน้นนำเสนอประเด็นด้านคุณธรรม วิธีการแก้ไขปัญหา และปรากฏการณ์ด้านบวกและลบ ทั้งระดับปัจเจก ระดับชุมชน และสังคม เพื่อรณรงค์ปลูกฝังด้านจิตสำนึกแก่ประชาชน โดยเชื่อมโยงกับคุณธรรม 5 ด้าน ได้แก่ พอเพียง วินัย สุจริต จิตสาธารณะ กตัญญู และประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

โดยสถานการณ์คุณธรรมปี 2567 รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม เผยว่า “ปัจจุบันได้มีการสำรวจสถานการณ์คุณธรรมของสังคมไทย ประจำปี 2567 ด้วย 2 เครื่องมือ คือดัชนีชี้วัดคุณธรรมและทุนชีวิต ในกลุ่มคนไทย 3 ช่วงวัย คือ อายุ 13-24 ปี อายุ 25-40 ปี และ อายุ 41 ปีขึ้นไป รวม 29,432 คน ใน 6 ภูมิภาค คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ พบผลสำรวจที่น่าสนใจคือ ดัชนีชี้วัดคุณธรรมภาพรวม 3 ช่วงวัยอยู่ในระดับพอใช้ อยู่ที่ค่าเฉลี่ย 4.32 จากคะแนนเต็ม 6 คะแนน เปรียบเทียบกับปี 2566 ที่อยู่ในระดับพอใช้ ค่าเฉลี่ย 4.73 ลดลง 8.67% และคุณธรรม 5 ด้าน ภาพรวม 3 ช่วงวัย พบว่า คุณธรรมด้านพอเพียง วินัยรับผิดชอบ และสุจริต อยู่ในระดับน้อย ค่าเฉลี่ย 4,17, 4.27 และ 4.19 ตามลำดับ ส่วนคุณธรรมด้านกตัญญู และจิตสาธารณะ อยู่ในระดับพอใช้ ค่าเฉลี่ย 4.64 และ 4.35 และเป็นที่น่าสังเกตว่าคุณธรรมด้านสุจริต อยู่ในระดับน้อยทั้ง 3 ช่วงวัย คือ อายุ 13-24 ปี ค่าเฉลี่ย 4.21 อายุ 25-40 ปี ค่าเฉลี่ย 4.04 และอายุ 41 ปีขึ้นไป ค่าเฉลี่ย 4.31

ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) หน่วยงานของรัฐในกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้ดำเนินการจัดทำรายงานสถานการณ์คุณธรรมในสังคมไทยมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบของงานวิจัย องค์ความรู้ และสำรวจสถานการณ์ด้านคุณธรรม เพื่อมุ่งเน้นนำเสนอประเด็นด้านคุณธรรม วิธีการแก้ไขปัญหา และปรากฏการณ์ด้านบวกและลบ ทั้งระดับปัจเจก ระดับชุมชน และสังคม เพื่อรณรงค์ปลูกฝังด้านจิตสำนึกแก่ประชาชน โดยเชื่อมโยงกับคุณธรรม 5 ด้าน ได้แก่ พอเพียง วินัย สุจริต จิตสาธารณะ กตัญญู และประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

โดยสถานการณ์คุณธรรมปี 2567 รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม เผยว่า “ปัจจุบันได้มีการสำรวจสถานการณ์คุณธรรมของสังคมไทย ประจำปี 2567 ด้วย 2 เครื่องมือ คือดัชนีชี้วัดคุณธรรมและทุนชีวิต ในกลุ่มคนไทย 3 ช่วงวัย คือ อายุ 13-24 ปี อายุ 25-40 ปี และ อายุ 41 ปีขึ้นไป รวม 29,432 คน ใน 6 ภูมิภาค คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ พบผลสำรวจที่น่าสนใจคือ ดัชนีชี้วัดคุณธรรมภาพรวม 3 ช่วงวัยอยู่ในระดับพอใช้ อยู่ที่ค่าเฉลี่ย 4.32 จากคะแนนเต็ม 6 คะแนน เปรียบเทียบกับปี 2566 ที่อยู่ในระดับพอใช้ ค่าเฉลี่ย 4.73 ลดลง 8.67% และคุณธรรม 5 ด้าน ภาพรวม 3 ช่วงวัย พบว่า คุณธรรมด้านพอเพียง วินัยรับผิดชอบ และสุจริต อยู่ในระดับน้อย ค่าเฉลี่ย 4,17, 4.27 และ 4.19 ตามลำดับ ส่วนคุณธรรมด้านกตัญญู และจิตสาธารณะ อยู่ในระดับพอใช้ ค่าเฉลี่ย 4.64 และ 4.35 และเป็นที่น่าสังเกตว่าคุณธรรมด้านสุจริต อยู่ในระดับน้อยทั้ง 3 ช่วงวัย คือ อายุ 13-24 ปี ค่าเฉลี่ย 4.21 อายุ 25-40 ปี ค่าเฉลี่ย 4.04 และอายุ 41 ปีขึ้นไป ค่าเฉลี่ย 4.31

โดย มีข้อเสนอแนะ หลัก 3 ข้อ ได้แก่ 1.) ควรหยิบยกประเด็นคุณธรรมด้านสุจริตและด้านวินัยรับผิดชอบ มาเป็นประเด็นร่วมในการรณรงค์สร้างจิตสำนึกในลักษณะที่เชื่อมโยงเป็นระบบนิเวศ ทั้ง (1.) ระบบภาพรวมของสังคม (Macro system) เช่นคุณธรรมด้านสุจริต คือการสร้างบรรทัดฐานทางสังคม การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ชัดเจน เป็นรูปธรรม เพื่อสร้างและพัฒนาระบบแจ้งเบาะแสการทุจริต (Whistle-blower) การสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการให้ข้อมูลและร้องเรียนเรื่องทุจริต เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมการไม่ทนต่อการทุจริต และคุณธรรมด้านวินัยรับผิดชอบ คือ การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างบรรทัดฐานทางสังคมเรื่องวินัยรับผิดชอบ โดยเฉพาะวินัยจราจร (2.) ระบบสิ่งแวดล้อมที่ใกล้ชิดมนุษย์ (Micro system) เช่น ครอบครัว สถานศึกษา องค์กร ชุมชน อาทิ การส่งเสริมคุณธรรมด้านสุจริตและวินัยรับผิดชอบโดยมีจุดเริ่มจากครอบครัว และใช้ชุมชนเป็นฐานในการขับเคลื่อน และ (3.) สื่อ (Media) คือ การใช้พลังของสื่อในการพัฒนา Soft skill การปรับเปลี่ยนวิธีคิด (Mindset) ในเรื่องสุจริตและวินัยรับผิดชอบ เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้จริง โดยเน้นด้าน ความพอเพียง, จิตสาธารณะ, และเปิดพื้นที่ให้เด็กและเยาวชนออกแบบกิจกรรมจิตอาสาที่สร้างสรรค์และบูรณาการ โดยเกิดจากความสมัครใจ ไม่ใช่การบังคับหรือสั่งการ

ส่วนข้อเสนอเชิงพัฒนา นั้น  1.) มิติการศึกษาและพัฒนาคุณภาพพลเมือง ควรพัฒนาระบบการศึกษาควบคู่กับเรื่องคุณธรรม โดยเป็นคุณธรรมที่จับต้องได้ ไม่ใช่การท่องจำ 2.) มิติการพัฒนาสังคม ควรเตรียมพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงในการก้าวสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super-Aged Society) ของไทย ในด้านต่าง ๆ เช่น สุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ และด้านการเรียนรู้ ด้วยการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ให้ท้องถิ่นจัดการตนเอง เกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ร่วมกันออกแบบ“สังคมสวัสดิการ” (Social Welfare) ของตนเอง และ 3.) มิติการศึกษาวิจัย ดังนั้นควรมีการสำรวจรายจังหวัดเพิ่มเติมอย่างละเอียดมากขึ้น เพื่อให้มีข้อมูลสถานการณ์คุณธรรมรายจังหวัดประกอบการตัดสินใจในการบริหาร กำหนดนโยบาย และออกแบบการส่งเสริมคุณธรรมในระดับปฏิบัติ

รวมถึงข้อเสนอแนะที่ 2.) รณรงค์ให้เกิดความเข้าใจ และรู้เท่ากระแสบริโภคนิยมมากยิ่งขึ้น เพื่อเสริมสร้างความรู้ด้านวินัยทางการเงิน และส่งเสริมรูปแบบการบริโภคที่ยั่งยืน และ 3.) ส่งเสริมให้เกิดการเตรียมความพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงของคนวัยทำงานในด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ และด้านการเรียนรู้ เพื่อรองรับการก้าวสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super-Aged Society) ของไทย ซึ่งคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในปี 2583

และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคมอย่างยั่งยืน สืบเนื่องจากประเด็นที่น่าสังเกตจากผลสำรวจดังกล่าว ในเรื่องของความพอเพียง และการรู้เท่าทันกระแสบริโภคนิยม รวมถึงต้องการส่งเสริมให้เกิดรูปแบบการบริโภคที่ยั่งยืน  ภายในงานยังได้มีการจัดเสวนา ในแนวคิด Sustainable Value Creation “รักษ์โลกแบบไหน ที่เรียกว่ายั่งยืน” โดยได้วิทยากรชื่อดัง มาร่วมแลกเปลี่ยน ข้อมูล อาทิ ณัฐกร เวียงอินทร์ หัวหน้าแผนกเนื้อหา และแบรนด์ดิ้ง บริษัท ไลค์มี จำกัด ร่วมพูดคุยและให้มุมมองด้านการเรียนรู้และเติบโตอย่างไรในยุคที่ปัญญาประดิษฐ์ และความยั่งยืน คือแรงขับเคลื่อนโลก

“ทุกวันนี้ไม่สามารถปฏิเสธการใช้งาน AI ได้อีกต่อไป ซึ่งแน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ต้องใช้การเรียนรู้เพิ่มเติม มากน้อยแตกต่างกันไปสำหรับคนในแต่ละเจนเนอเรชั่น แม้แต่ในเรื่องของแวดวง Sustainability ที่เราพูดคุยกันวันนี้ที่สืบเนื่องมาจากผลสำรวจคุณธรรมของผู้คน ประจำปี 2567 ของศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ก็ตาม สำหรับผมข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ในการเตรียมตัวก็คือ ในยุคที่ AI และ ความยั่งยืน ขับเคลื่อนโลก เราต้องเติบโตตาม 5 เทรนด์หลัก ได้แก่ Technology & AI ประกอบไปด้วย การใช้ AI อย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible AI), (AI Agent )ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดปัญหาการทำงานซ้ำซ้อน และ(AI Talent Shortage) หรือการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญ AI กำลังเป็นปัญหาสำคัญ เทรนด์ความยั่งยืน กฎหมายความยั่งยืนจะบังคับให้ธุรกิจต้องปรับตัวตาม (Legislationization) , การเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมจะสร้างคุณค่าให้กับชุมชน (ESG Disclosure Management) และการปรับตัวอย่างยืดหยุ่น (Resilience) Aging Society ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นต้องการนวัตกรรมดูแลใหม่ การทำการตลาดที่จริงใจ เพื่อเน้นความซื่อสัตย์และจริงใจ และการนำภูมิปัญญาโบราณมาใช้เพื่อสร้างความยั่งยืนและสมดุลในชีวิต เราสามารถเรียนรู้และเติบโตได้ ด้วยการปรับทักษะ มุมมอง และพฤติกรรมที่เหมาะสม เพื่อเตรียมรับกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และต้องทำความเข้าใจ แล้วใช้เทคโนโลยี ด้วยความรับผิดชอบ”

**โดยท่านที่สนใจ สามารถรับฟังงานเสวนาฯย้อนหลังเพื่อรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/share/v/14KgCYuMC4/

https://www.kaosanonline.com/?p=68660

By admin

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *