สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) หรือ Hakuhodo Institute of Life and Living ASEAN (THAILAND) เผยผลสำรวจเรื่องการคาดการณ์พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทยประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 ว่า เริ่มต้นปีใหม่ปีมังกรด้วยเทศกาลแห่งความสุข ควันหลงความสุขยังคงสูงขึ้นต่อเนื่องรับปีมังกร และยังคงมีผลพวงมาจากความคาดหวังในนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจจากรัฐบาล รวมถึงความคึกคักช่วงเฉลิมฉลองวันวาเลนไทน์และวันตรุษจีน
จากผลสำรวจนี้คนไทยแสดงแนวโน้มในการรอจับจ่ายสินค้าอย่างมีเป้าหมาย โดยคาดการณ์ว่าสินค้าที่ได้รับความนิยม คือ ของใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงของขวัญตามเทศกาลที่จะให้กับครอบครัวและคนรัก คุณกฤตเมธ วุฒิเมธีกุล ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) ได้ให้คำแนะนำกับแบรนด์ต่าง ๆ เพื่อให้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ทางการตลาดไปควบคู่กับความต้องการของคนไทย ดังนี้
- Surprise Your Loved Ones with “The Wait Is Over Campaign”
จากผลสำรวจคนไทยแสดงแนวโน้ม “รอ” ซื้อของสำหรับเทศกาลมาตั้งแต่ต้นปี ซึ่งแบรนด์สามารถเข้ามา support แนวโน้มนี้ได้ด้วยการใช้กลยุทธ์การสื่อสาร “the wait is over: เทศกาลแห่งการใช้จ่ายมาถึงแล้ว” ผ่านการกระตุ้นจากคนรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน คนรัก หรือคนในครอบครัว เพื่อกระตุ้นความต้องการในการใช้จ่าย หรือทำแคมเปญที่เกี่ยวกับ “เก่าแลกใหม่ ช้อปแลกสุข” เพื่อผลักดันการจับจ่ายในภาพรวมให้สูงขึ้นและสร้างโมเมนต์แห่งความสุขให้ทั้งผู้ซื้อและผู้รับ
- “Celebrating your roots” campaign to emphasize the essence of CNY
ช่วงเดือนกุมภาพันธ์นี้ มีเทศกาลต่างๆ ที่เป็นโอกาสสำหรับคนไทยทุกคนที่จะได้คิดถึงคนที่เรารัก เช่น บรรพบุรุษ พ่อแม่ หรือคนรัก ในช่วงเทศกาลเหล่านี้เองแบรนด์สามารถเข้ามาร่วมสนับสนุนโมเมนต์ที่มีความหมาย ผ่านแคมเปญ “Digital Family Presets” ที่ทุกคนสามารถเข้ามาอัพโหลดรูปใน แผนผังครอบครัว เพื่อแชร์ลงบน Social Media หรือทำเป็นของขวัญสุดพิเศษให้แก่ญาติผู้ใหญ่ ซึ่งนอกจากจะได้รำลึกถึงบรรพบุรุษผู้ล่วงลับแล้ว ยังเป็นกิจกรรมที่คนไทยทุกเชื้อสายสามารถร่วมสนุกได้ในเทศกาลตรุษจีนนี้
จากผลสำรวจที่น่าสนใจในครั้งนี้ คุณภูวสิษฏ์ โกศลนิยมธนาโชติ นักวางแผนกลยุทธ์ชำนาญการ สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) ได้นำเสนออินไซด์ของคนไทยผ่านผลสำรวจไว้ 3 หัวข้อสำคัญ คือ
- การเฉลิมฉลอง และสังสรรค์ ส่งผลให้มีแนวโน้มการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น +2 (YoY) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว
คนเมืองพร้อมช้อปต่อเนื่อง ส่อแววคึกคักรับเทศกาลต้อนรับปีมังกร โดยกลุ่มอายุที่จะใช้จ่ายเยอะมากที่สุดคือ 40 – 49 ปี เพื่อดูแลการจับจ่ายช่วงเตรียมความพร้อมสำหรับเทศกาลตรุษจีน ในขณะที่กลุ่มคนวัย 20 – 30 ปี ที่ได้ใช้จ่ายไปแล้วในช่วงปีใหม่จะมีแนวโน้มชะลอการใช้จ่ายเพื่อเก็บเงินในกระเป๋า คนส่วนใหญ่แสดงแนวโน้มในการรอจับจ่ายสินค้าอย่างมีเป้าหมาย คาดว่าสินค้าที่ยังคงได้รับความนิยม คือ ของใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวันรวมไปจนถึงของขวัญตามเทศกาลที่จะให้กับครอบครัวและคนรัก เช่น “เปลี่ยนของใช้ภายในบ้านให้กับพ่อแม่” หรือ “ของขวัญเล็กๆ น้อยๆ” โดยเฉพาะในหมวดหมู่สินค้าฟุ่มเฟือย เช่น ความงาม และ เครื่องประดับ
- เปิดรับ เพื่อ ประสบการณ์ใหม่ มากกว่า 40% ของคนกรุงเทพฯ อยากฉลองเทศกาลตรุษจีน
ในสังคมไทยของเรามีผู้อยู่รวมกันอย่างหลากหลายเชื้อสายและมักมีเทศกาลเฉลิมฉลองของแต่ละเชื้อสายในช่วงเวลาที่แตกต่างกันออกไป อย่างในช่วงต้นปีนี้จะเป็นช่วงการเฉลิมฉลองวันปีใหม่ของชาวไทยเชื้อสายจีน ถึงแม้ว่าไม่ใช่คนไทยเชื้อสายจีน (16%) แต่เพราะชอบในความคึกคักของเทศกาล และถือเป็นโอกาสในการแต่งตัว ได้ใช้เวลากับครอบครัว ผู้คนต่างก็พร้อมที่จะเข้าร่วมการฉลองเทศกาลสำคัญในครั้งนี้ สิ่งนี้เองสะท้อนให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของคนไทยที่มองหาโอกาสในการเติมความสุขให้กับชีวิต โดยการเปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆ ถึงแม้ว่าเทศกาลนั้นๆ จะไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับตัวเองโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นเชื้อสายหรือวัฒนธรรมแบบใดคนไทยก็ยินดีที่จะเปิดรับหากเป็นโอกาสในการ enjoy happy moment ได้
- คะแนนความสุขปรับขึ้นเป็น 65 คะแนน ต้อนรับปีมังกรอย่างสวยงาม!
ควันหลงความสุขจากช่วงปีใหม่ ยังคงอยู่คู่คนไทย โดยพบว่าคนไทยยังคงมีความสุขในศักราชใหม่นี้อยู่ คะแนนความสุขในภาพรวมมีการปรับตัวขึ้นมาที่ 65 คะแนน (+1%) เมื่อเปรียบเทียบกับผลวิจัยเดือนธันวาคม 2566 และในอีก 3 เดือนข้างหน้า เราพบว่าคนไทยยังคงคาดหวังให้ความสุขยังอยู่ในระดับเท่าเดิม เพื่อรอปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโบนัส อั่งเปา หรือแม้แต่นโยบายด้านเศรษฐกิจจากรัฐบาล ที่จะมาช่วยบูสท์ความสุขให้คนไทยได้แฮปปี้ได้มากกว่าเดิม
นอกจากการทำการศึกษาแนวโน้มพฤติกรรมการใช้จ่ายของคนไทย สถาบันวิจัยฮาคูโฮโด อาเซียน ประเทศไทย ได้ทำการศึกษาเรื่องความสนใจของคนในสังคมไทยเช่นกัน เนื่องจากสังคมไทยในปัจจุบัน มีข่าวสารบ้านเมืองที่น่าติดตามเกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน คนไทยหันมาสนใจเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น เปลี่ยนการโฟกัสจากสถานการณ์ความไม่สงบในต่างชาติ หันมาเสาะหาความจริงเรื่องศีลธรรมและมนุษยธรรมมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงความละเอียดอ่อนทางคดีที่ถูกเผยแพร่ข้อมูลบนโซเชียลมีเดียซึ่งอาจทำให้ข้อมูลผิดเพี้ยนและไม่เป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับคดีนั้นๆ อีกทั้งข่าวการเมือง เศรษฐกิจ สภาพอากาศ ได้รับความสนใจมากขึ้น เนื่องจากมีผลโดยตรงต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
ติดตามผลสำรวจเพิ่มเติมได้ที่
Hakuhodo Institute of Life and Living ASEAN (THAILAND)