สถานการณ์ผู้ป่วย NCDs หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรังยังเป็นภัยร้ายที่พรากชีวิตคนไทยสูงที่สุด ซึ่งมีสาเหตุมาจากการบริโภคมากที่สุด ซึ่งหนึ่งในตัวการสำคัญคือ “น้ำตาล”
เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน สนับสนุนโดยแผนอาหารเพื่อสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ดำเนินงานเพื่อลดการบริโภคน้ำตาลของคนไทยมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านนโยบายทางภาครัฐ และระดับพื้นที่ภาคประชาชน ครอบคลุมทั้ง 4 ภาคเกิดเป็นเครือข่ายใน 28 จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ด้านสุขภาพ (health literacy) ให้ประชาชนรับรู้ถึงอันตรายของน้ำตาลที่มีต่อสุขภาพจะเสี่ยงต่อโรค NCDs และอาจเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองได้
นพ.สุธา เจียรมณีโชติชัย อดีตรองอธิบดีกรมอนามัย และที่ปรึกษาเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน กล่าวถึงการขับเคลื่อนลดการบริโภคหวานในภาคประชาชน ว่า การสร้างความตระหนักรู้เป็นพื้นฐานของการทำให้เกิดการเปบี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ โดยเฉพาะพฤตกรรมการกิน เช่น การกินของหวาน มัน เค็ม เรารู้หรือไม่ว่าโทษการทาน อะไรจะเกิดขึ้นบ้าง เช่น น้ำตาลเข้าไปร่างกาย ทำให้เกิดการใช้อินซูลินมากขึ้น เกิดแนวโน้มโรคเอ้วน เบาหวาน ความดัน หลอดเลือดสมอง การที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมได้ จึงต้องสร้างความรู้เพื่อให้เกิดความเข้าใจกับประชาชน เมื่อรู้ เข้าใจแล้ว ทำได้ไหมก็จะต้องไปปรับสภาพแวดล้อม ครอบครัว หรือชุมชน ทำอย่างไรให้ความรู้นั้นนำไปสู่พฤติกรรมที่ถาวร เป็นส่วนสำคัญสุด “รู้แล้ว เข้าใจ ทำได้ และต่อเนื่อง”
ในส่วนของ จ.พะเยา ที่มีประชากรกว่า 4 แสนคน ถ้าภาคท้องถิ่น เช่น อบจ. เข้ามาหนุนเสริม มีนโยบาย สร้างความรู้ภาคประชาชนเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ก็จะทำให้คนมีสุขภาพดี ห่างไกล NCDs
ขณะเดียวกันจากการขับเคลื่อนของเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน จ.พะเยา ที่ใช้หลักสะกิด รูปภาพ ข้อความสร้างความเข้าใจ ชี้นำให้ทางผู้บริโภคเลือกหวานน้อย ไม่ต้องบอกหวานเท่าไหร่ ใช้รูปภาพหรือสี นำพาไปสู่การตัดสินใจ ว่าจะหวานน้อย หรือหวานปานกลาง ทำให้สุขภาพดีขึ้น เป็นการประยุกต์ทางวิชาการเปลี่ยนแปลงคนกิน และเจ้าของ ทำให้ผู้บริโภคได้รับหวานน้อย ซึ่งเป็นการดำเนินงานสุขภาพในช่องปากเชื่อมโยงสุขภาพร่างกาย และการจัดการสิ่งแวดล้อมบูรณาการสุขภาพในช่องปาก และจัดการสิ่งแวดล้อมในโครงการเดียวกันด้วย เช่นเดียวกับ บทบาท อสม. สำคัญมากที่จะเชื่อมโยงหน่วยราชการ นำไปสู่ประชาชน เนื่องจากแต่ละหมู่บ้านจะมี อสม.ดูและ ประมาณ 1 ต่อ 10
“อสม.เข้าใจครัวเรื่อนที่ดูแลอยู่แล้ว จะรู้ว่ามีความเสี่ยงอะไรบ้าง มีข้อมูลพื้นฐานสำคัญ จำเป็นต้องสนิทสนมและเชื่อใจในการจะให้เข้าไปสร้างความรู้ความเข้าใจ และดูแลชีวิตเขาได้ และปรับเปลี่ยนไปตามบริบทเพื่อความยั่งยืนได้” ที่ปรึกษาเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน เน้นย้ำความสำคัญของ อสม. ในเรื่องนี้
ทพ.ธิติพันธุ์ อวนมินทร์ ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานทันตกรรมโรงพยาบาลแม่ใจ จ.พะเยา เปิดเผยว่า การขับเคลื่อนลดการบริโภคหวานหรือน้ำตาล เราทำใน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนปกติที่มาใช้บริการร้านกาแฟ ลดบริโภคหวาน แบบการสั่งแมนูอ่อนหวาน มีป้ายระดับความอ่อนหวานสะกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบนความสนใจกับเมนูหวานน้อยมากขึ้น โดยแต่ละร้านที่ขายกาแฟ จะมีป้ายระดับความหวาน แฝงไปด้วยทฤษฎีสะกิดพฤติกรรม ทุกครั้งที่สั่งให้เลือกสั่งจากป้ายอ่อนหวานเท่านั้น ซึ่งนอกจากป้ายจะมีถ้วยคำเชิญชวนอ่อนหวานแล้ว ยังมีการใช้หลักการใช้สี หารเฝดสี การใช้ขนาดตัวอักษร เป็นการเบี่ยงเบนให้เขาไปเลือกหวานน้อย ป้ายนี้ก็จะทำหน้าที่สะกิดพฤติกรรมผู้บริโภคโดยไม่รู้ตัว เขาอาจจะมองเห็นแต่การสั่งระดับเมนูหวานน้อย มากกว่าหวานปกติ หรือหวานมากจะไม่มีทางเลือกให้เขา ซึ่งทฤษฎีนี้ใช้ได้ดีกับคนที่ลังเลอยู่ ซึ่งการตระหนักและเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อสุขภาพ เราไม่ต้องไปสอนว่า การกินน้ำตาลไม่ดี การสะกิดเป็นการสอนเขาเอง และนำไปสู่การเปลี่ยนพฤติกรรมและลดการขัดแย้งระหว่างเจ้าของร้านและลูกค้า เพราะว่า เขาต้องยอมรับระดับความหวานที่เลือกเอง โดยเมนูหวานน้อยของร้านกาแฟอ่อนหวานต้องมีปริมาณน้ำตาลไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์
“ยอดคนสั่งหวานน้อยเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน จากกระแสสังคม และจากการเลือกหวานน้อยโดยไม่รู้ตัว อีกอย่างคือ การเลือกหวานน้อยไม่รู้ตัว การทำให้เขาสร้างประสบการณ์ใหม่ จากไม่เคยกินหวานน้อยเลย พอมากินหวานน้อย แล้วก็ไม่ได้แย่อย่างที่คิด” ทพ.ธิติพันธุ์ กล่าว
ในส่วนมุมของผู้ป่วยในด้านการลดบริโภคหวานนั้น ทต.ธิติพันธุ์ กล่าวว่า คือการสร้างระบบ Self care กันเองในชุมชน : ฮัลโหล Health lit. โดยมาให้อสม.จับคู่บัดดี้ส่งเสริมการลดบริโภคน้ำตาลทางโทรศัพท์ โดยเริ่มต้นมาจากช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ อสม. ไม่กล้าออกไปเยี่ยมบ้านผู้ป่วย เราเลยมาคิดระบบการทำงานว่าจะแก้ปัญหานี้อย่างไร เลยได้ความคิดว่า มาติดตามทางโทรศัพท์แทนการพบตัวต่อตัว จัดทำคู่มือเยี่ยมบ้านออนไลน์ สำหรับ อสม. ประกอบด้วย Tailor key message ชุดคำถามปัญหาเรื่องฟัน และแบบติดตามพฤติกรรม โดยจะปูพื้นฐาน อสม. ให้มีแนวคิดตรงกัน
จัดทำคำถามเพื่อหาสาเหตุและปัจจัยของโรค ได้แก่ พฤติกรรม อาหารที่บริโภค ว่า มี หวาน มัน เค็ม อย่างไร จำนวนการบริโภคผัก กินเครื่องดื่มหวานจัดหรือไม่ กินข้าวเหนียวมากเกินไปหรือไม่และค้นหาความเสี่ยงต่อโรค NCDs การวัดค่าความดันโลหิต เพื่อจะได้วิเคราะห์หาปัจจัยของ โรคร่วมกับทีมแพทย์พยาบาลเป็นรายบุคคล แล้วให้ อสม. โทรศัพท์ติดตาม ซักถามเป็น
“ที่ รพ.สต.แม่สุข เริ่มทำในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานก่อน ทำให้กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน กลับมาเป็นปกติ คือ ไม่เกิน 100 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ การทำงานด้วยการขับเคลื่อนของ อสม. ถือว่าประสบความสำเร็จ เพราะ อสม. คือคนในชุมชน มีความใกล้ชิดกัน เขาจะไว้เนื้อเชื่อใจ ทำให้การขับเคลื่อนลดบริโภคน้ำตาลราบรื่น” ทพ.ธิติพันธุ์ กล่าว
อีกหนึ่งการยกระดับการขับเคลื่อนลดการบริโภคหวาน คือ “ร้านการแฟอ่อนหวาน ปลอดฝุ่น อุ่นใจ” ลดหวาน=เผา ซึ่งฟังดูแล้วอาจจะสงสัยว่าเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร
เป็นที่รู้กันว่า “น้ำตาล” มาจากอ้อย และในทุกฤดูการเก็บเกี่ยว จะมีการเผาอ้อย เพราะเชื่อว่า อ้อยที่ได้จะมีความหวานมากขึ้น
วิฤติปัญหาหมอกควัน หรือ PM2.5 ในรอบหลายปีทีผ่านมา ถือเป็นปัญหาต่อสุขภาพโดยตรงต่อประชาชน โดยเฉพาะพี่น้องชาวภาคเหนือ ซึ่งนอกจากไฟป่าแล้วการเผาในพื้นที่เกษตรก็เป็นอีกสาเหตุหลักของการเกิดวิกฤติและยากต่อการแก้ไข ทำให้ทุกปีโดยเฉพาะช่วงฤดูแล้ง ปัญหาหมอกควันและ PM2.5 สร้างผลกระทบต่อวิถีชีวิต สุขภาพและเศรษฐกิจมหาศาล
ผู้ประสานงานเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน จ.พะเยา กล่าวถึงการขับเคลื่อนในส่วนนี้ว่า เป็นการยกระดับทำงานร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสจ.)พะเยา ด้วยการชักชวนร้านกาแฟจำนวน 25 ร้านกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ ด้วยการให้แต่ละร้านมีห้องปลอดฝุ่นรองรับลูกค้า มีการตรวจวัดค่า PM ภายในห้องเป็นประจำ มีการติดตั้งเครื่องกรองอากาศให้ห้องได้ค่ามาตรฐาน
ทุกร้านให้ความร่วมมืออย่างมาก เพราะเราเอาปัญหาด้านสุขภาพเป็นตัวชูโรง เพราะทุกร้านต่างได้รับผลกระทบจากวิกฤต PM2.5 จนลูกค้าไม่กล้าออกนอกบ้าน เราเอาเรื่องอ่อนหวานผนวกบูรณาการเข้าไป เช่นเดียวกับที่ว่า ถ้าเราลดหวานก็เท่ากับลดน้ำตาล ลดการปลูก ลดการเผาอ้อยไปด้วย ซึ่งใช้ได้ดีเพราะฝุ่น PM2.5 เป็นอันตรายที่เห็นภาพเป็นรูปธรรมมากกว่า ภัยจากการบริโภคน้ำตาลที่ส่งผลให้ป่วยเป็นโรค NCDs ที่จะไม่เห็นชัดเจน หากเกิดภาวะโรคดังกล่าวในช่วงเริ่มต้น