เปิดมิติแห่งการพัฒนาเยาวชนผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสด้วยศิลปะ บ่มเพาะทักษะ ความคิดสร้างสรรค์ และประสบการณ์ที่มีคุณค่า ผ่านนวัตกรรมการเรียนร่วมของเหล่าเยาวชนพิการทุกประเภท มุ่งสู่การขับเคลื่อนสังคมไทยที่มีความหลากหลายให้เติบโตร่วมกันได้อย่างยั่งยืน หลากหลาย สร้างสรรค์ ยั่งยืน ด้วยนวัตกรรมเรียนร่วมและปรัชญา “ก้าวข้ามขีดจำกัด”

ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ สมาชิกวุฒิสภา ประธานผู้ก่อตั้งมูลนิธิศิลปะเพื่อมวลมนุษย์ เปิดเผยว่า มูลนิธิศิลปะเพื่อมวลมนุษย์ (Art for All) ร่วมกับ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) จัดโครงการศิลปะเพื่อมวลมนุษย์ ประจำปี พ.ศ. 2567 ภายใต้แนวคิด “ศิลปะเพื่อมวลมนุษย์: หลากหลาย สร้างสรรค์ ยั่งยืน” (Art for All: Diversity, Creativity, Sustainability) โดยมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของ “คน” อย่างสร้างสรรค์ สอดรับกับ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

“การพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ (Human Capital) เป็นกุญแจสำคัญที่สร้างพลังและนำพาให้เยาวชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้พิการ/ผู้ด้อยโอกาส ได้รับการพัฒนาบ่มเพาะทักษะความคิดสร้างสรรค์และเตรียมความพร้อมก้าวสู่ความท้าทายของสังคมที่แตกต่างหลากหลาย ด้วยปรัชญา “ก้าวข้ามขีดจำกัด” ของ Art for All ที่ส่งเสริมให้ทุกคนพึ่งพาตนเองได้ตามศักยภาพที่มีอยู่ โดยใช้นวัตกรรมการเรียนร่วมเป็นตัวจุดประกาย ให้ทุกคนต่างช่วยเติมเต็มในศักยภาพซึ่งกันและกัน ผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ที่มีศิลปะเป็นเครื่องมือเชื่อมประสานและหลอมรวมความแตกต่าง และใช้ชีวิตร่วมกันอย่างเอื้ออาทร”

 

สำหรับโครงการศิลปะเพื่อมวลมนุษย์ ประจำปี 2567 นี้ กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9–11 สิงหาคม 2567 ที่กระทรวงวัฒนธรรม และ Art for All Village ถนนประชาร่วมใจ เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย เยาวชนพิการทุกประเภท ได้แก่ เยาวชนที่มีความบกพร่องด้านสายตา การได้ยิน การเคลื่อนไหว และสติปัญญา รวมถึงเยาวชนที่ไม่พิการ ครูอาจารย์ด้านศิลปะ ผู้ปกครอง อาสาสมัคร และวิทยากรผู้มีชื่อเสียง ศิลปินแห่งชาติ รวมถึงศิลปินจากประเทศสมาชิกอาเซียน ที่มาร่วมบ่มเพาะเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ ให้แก่เด็กๆ และเยาวชนผู้มีใจรักในงานศิลปะ ได้เรียนรู้และร่วมสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ตลอดจนสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนเร่งพัฒนาศักยภาพของตนเอง

“กลยุทธ์ที่ใช้ในการหลอมรวมความแตกต่าง ถือเป็นจุดเริ่มต้นและแนวทางสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันระยะยาวให้กับสังคม ขณะเดียวกันก็มุ่งสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมให้ทุกคนเห็นความสำคัญของการพัฒนาเยาวชนผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสและนำมาประยุกต์ใช้ในการเสริมสร้างพลังของคนรุ่นใหม่และรองรับการพัฒนาสังคมอย่างสร้างสรรค์”

 ทั้งหมดนี้ได้กลายเป็นบทพิสูจน์เชิงประจักษ์ที่ Art for All ได้ดำเนินมาตลอดระยะเวลากว่า 28 ปี พร้อมกับวิสัยทัศน์ที่จะสร้างความเสมอภาคให้กับมวลมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นคนพิการ เด็กด้อยโอกาส กลุ่มชาติพันธุ์ หรือผู้ต้องขัง โดยการบูรณการศาสตร์ด้านศิลปะ ไม่ว่าจะเป็น ทัศนศิลป์ ดุริยางคศิลป์ นาฏยศิลป์และวรรณศิลป์ ฯลฯ นำมาสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของทุกคน

วธ.หนุน 7 ประเทศอาเซียนร่วมสร้างสรรค์ พัฒนาศักยภาพของเยาวชนพิการและผู้ด้อยโอกาส

สำหรับกระทรวงวัฒนธรรม โดยได้รับมอบหมายจากนางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ถือเป็นนโยบายสำคัญในการสานต่อเจตนารมย์ในการนำศิลปะมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนพิการและผู้ด้อยโอกาสอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2567 นี้ ยังเป็นการเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 57 ปี แห่งการก่อตั้งอาเซียน ทาง วธ. ได้เชิญศิลปินจากประเทศสมาชิกอาเซียน เข้าร่วมจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและรังสรรค์ผลงานศิลปะจำนวน 7 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ภายใต้แนวคิด “ศิลปะเพื่อการรีไซเคิลและการอัปไซเคิลเพื่อความยั่งยืนของภูมิภาคอาเซียน” (The Art of Recycling and Upcycling – towards the Sustainable ASEAN Region) เพื่อส่งเสริมวิธีการจัดการกับขยะหรือสิ่งของเหลือใช้ผ่านการสร้างสรรค์ผลงานในเชิงศิลปะร่วมกัน โดยการใช้เทคนิคการรีไซเคิลหรืออัปไซเคิล สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกรอบความคิดของพลเมืองอาเซียนและแนวปฏิบัติอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ โครงการศิลปะเพื่อมวลมนุษย์ (Art for All) ได้เปิดตัวสู่สังคมนานาชาติ ด้วยการสนับสนุนจาก วธ. ในการเชิญคณะผู้แทนจากนานาชาติเข้าร่วมค่ายศิลปะเพื่อมวลมนุษย์มาตั้งแต่ปีพ.ศ.2542 เพื่อเป็นเวทีในการแสดงออก แลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์ ตลอดจนพัฒนาศักยภาพของเยาวชนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพของสังคมและสร้างเจตคติที่ดีระหว่างกันเพื่อนำสู่สังคมที่มีความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน สอดรับกับวิสัยทัศน์ ASEAN Vision 2025 ในการทำให้อาเซียนเป็นชุมชนของสังคมแห่งความเอื้ออาทร โดยยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และแสวงหาการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของทุกภาคส่วนในสังคม ตลอดจนนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ ภายในปี ค.ศ. ๒๐๓๐ เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมกันของคนทุกคนในสังคม ร่วมสร้างสังคมแห่งความเอื้ออาทร ด้วยแรงหนุนเสริมเปิดประสบการณ์ที่มีคุณค่า ด้วยการเสริมพลังและกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการผลักดันให้การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นคนพิการและครอบครัว อาสาสมัครของมูลนิธิ หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ทำให้การดำเนินงานของโครงการศิลปะเพื่อมวลมนุษย์ (Art for All) ได้เปิดโลกทัศน์และเป็นก้าวสำคัญในการสร้างการเปลี่ยน

https://www.kaosanonline.com/?p=67031

By admin

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *